7.3 ทฤษฎีจลน์และการแพร่ของแก๊ส
#ทฤษฎีจลน์ #อนุภาคแก๊ส ขนาดเล็กมากเมื่อเที่ยบกับปริมาตรภาชนะที่บรรจุ #อนุภาพอยู่ห่างกัน แรงยึดเหนี่ยวน้อยมากถือได้ว่าไม่มีแรงกระทำต่อกัน #อนุภาคเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ทิศทางไม่แน่นอน อัตราเร็วคงที่แตกต่างกัน พลังงานจลน์ไม่เท่ากัน เมื่อเกิดการชนจะเกิดการถ่ายเทพลังงาน ไม่มีการสูญเสียพลังงานจลน์รวม พลังงานจลน์เฉลี่ยมีค่าคงที่ #พลังงานจลน์ขึ้นกับอุณหภูมิเท่านั้น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น อนุภาคแก๊สเคลื่อนที่เร็วขึ้น พลังงานจลน์เฉลี่ยของแก๊สเพิ่มขึ้น
#ใช้อธิบาย #กฏของบอยล์ เมื่อลดปริมาตร V อนุภาคแก๊สชนผนังมากขึ้น ความดันของแก๊สเพิ่มขึ้น P #กฎของเกย์-ลูสแซก เพิ่มอุณหภูมิ T อนุภาคแก๊สเคลื่อนที่เร็วขึ้น พลังงานจลน์เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ความถี่การชนผนังเพิ่มขึ้น ความดันเพิ่มขึ้น P (ผนังไม่ยืดหยุ่น) #กฎของชาร์ล เพิ่มอุณหภูมิ T อนุภาคแก๊สเคลื่อนที่เร็วขึ้น พลังงานจลน์เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ความถี่การชนผนังเพิ่มขึ้น ปริมาตรเพิ่มขึ้น V (ผนังยืดหยุ่น) #กฎของอาโวกาโดร จำนวนอนุภาคเพิ่มขึ้น n ความถี่การชนผนังเพิ่มขึ้น ความดันเพิ่มขึ้น ปริมาตรเพิ่มขึ้น (ผนังยืดหยุ่น)
#การแพร่ของแก๊ส # มวลต่อโมลต่างกันการแพร่ต่างกัน #ที่อุณหภูมิเดียวกัน แก๊สทุกชนิดมีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน #Ek=1/2mv^2 #มวลมากจะมีอัตราการแพร่น้อย #กฎการแพร่ของเกรแฮม #การแพร่ผ่าน โมเลกุลแก๊สเคลื่อนที่ผ่านรูเล็กๆ ไปบริเวณสูญญากาศ โดยโมเลกุลไม่ชนกันกับโมเลกุลข้างเครียง #ที่อุณหภูมิ T และ ความดัน P เดียวกัน จำนวนโมเลกุลของแก๊สที่แพร่ผ่านต่อหนึ่งหน่วยเวลาหรืออัตราการแพร่ของแก๊สจะแปรผกผันกับรากที่สองของมวลต่อโมล อัตราการแพร่มี่หน่วยเป็นจำนวนอนุภาคที่แพร่ผ่านตำแหน่งที่กำหนดต่อเวลา และอัตราการแพร่ของแก๊สทั่วไปมีหน่วยเป็นระยะทางต่อเวลา
#สูตรการแพร่ของแก๊ส r1/r2 = รากที่สองของ M2/M1 และ r1/r2 = รากที่สองของ d2/d1 เมื่อ r1=s1/t1 r2=s2/t2 ก็ได้เช่นกัน
#ติวฟรี #สอนฟรี #เรียนฟรี #สอนเคมีฟรี FanpageFacbook คณิตวิทย์เทคโนสายฮา #YouTube ครูเต้ย สายฮา #Website www.ครูเต้ยสายฮา.com #ครูเต้ยสายฮา #คณิตวิทย์เทคโนสายฮา