7.1 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร ความดัน อุณหภูมิและจำนวนโมลของแก๊ส
#แก๊ส แรงยึดเหนี่ยวน้อยกว่าของแข็งของเหลว ปริมาตรเท่ากับภาชนะที่บรรจุ
#หน่วยความดัน 1 บรรยากาศ (atm) = 1.01325 x 10^5 Pa = 760 mmHg = 760 torr = 1 bar = 14.7 psi
#บารอมิเตอร์ วัดความดันบรรยากาศ = ความสูงของปรอท
#แมนอมิเตอร์ วัดความดันแก๊สอื่นๆ 1) ระดับปรอทปกติ ความดันแก๊ส = ความดันบรรยากาศ 2) ระดับปรอทสูงขึ้น ความดันแก๊ส = ความดันบรรยากาศ + ระดับปรอทที่สูงขึ้น 3) ระดับปรอทต่ำลง ความดันแก๊ส = ความดันบรรยากาศ – ระดับปรอทที่ต่ำลง
#กฎของบอยล์ เมื่อ T และ n คงที่ V แปรผกผันกับ P ได้สูตร P1V1 = P2V2
#กฎของชาร์ล เมื่อ P และ n คงที่ V แปรผันตรงกับ T ได้สูตร V1/T1 = V2/T2
#กฎของเกย์-ลูสแซก เมื่อ V และ n คงที่ P แปรผันตรงกับ T ได้สูตร P1/T1 = P2/T2
#กฎรวมแก๊ส คือ กฎของบอยล์ ชาร์ล และเกย์-ลูสแซก มารวมกัน ได้สูตร P1V1/T1 = P2V2/T2
#กฎของอาโวกาโดร เมื่อ P และ T คงที่ V แปรผันตรงกับ n ได้สูตร V1/n1 = V2/n2
#ติวฟรี #สอนฟรี #เรียนฟรี #สอนเคมีฟรี #YouTube ครูเต้ย สายฮา #Facebook Fanpage คณิตวิทย์เทคโนสายฮา #ครูเต้ยสายฮา #คณิตวิทย์เทคโนสายฮา