บทที่ 3 พันธะเคมี

Spread the love

3.1 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต

3.2 พันธะไอออนิก

3.3 พันธะโคเวเลนต์

3.4 พันธะโลหะ

3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์และโลหะ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. เขียนสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของธาตุและไอออนและระบุได้ว่าธาตุหรือไอออนนั้นเป็นไปตามกฏออกเดต

2. อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิกโดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส

3. อธิบายโครงสร้างของสารประกอบไอออนิก

4. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

5. คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบไอออนิกจากวัฏจักรบอร์นฮาเบอร์

6. อธิบายสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก

7. เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก

8. อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยวพันธะคู่และพันธะสามด้วยโครงสร้างลิวอิส

9. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์

10. วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์

11. คำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ

12. คาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์โดยใช้ทฤษฎีการผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์

13. เขียนแสดงทิศทางขั้วพันธะและทิศทางขั้วของโมเลกุลรวมทั้งระบุสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

14. ระบุชนิดของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์และเปรียบเทียบจุดหลอมเหลวจุดเดือดและการละลายน้ำของสารโคเวเลนต์

15. สืบค้นข้อมูลอธิบายสมบัติและนำเสนอตัวอย่างของสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายชนิดต่าง ๆ

16. อธิบายการเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ

17. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิกสารโคเวเลนต์และโลหะ

18. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิกสารโคเวเลนต์และโลหะได้อย่างเหมาะสม